มารู้จักดวงตาและปัญหาดวงตาที่พบบ่อยกัน

SaffronE, Saffrone, Saffron, แซฟฟรอนอี, แซฟฟรอน, อาหารเสริมบำรุงสายตา, อาหารเสริมบำรุงดวงตา, ลูทีน, บำรุงดวงตา, อาหารเสริมลูทีน, อาหารบำรุงดวงตา, วิตามินบำรุงสายตา, วิตามินบำรุงดวงตา,

มารู้จักดวงตาและปัญหาดวงตาที่พบบ่อยกัน

ทุกคนต่างรู้ว่า ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญอวัยวะเดียวที่ใช้ในการมองเห็น มีแค่ 2 ชิ้น ในร่างกาย หากไม่มีหรือมีบกพร่องชีวิตลำบาก แต่ถึงกระนั้น จะมีกี่คนกันที่ให้ความสนใจและดูแลดวงตาของเราอย่างแท้จริง วันนี้เรามารู้จักเรื่องของดวงตา และปัญหาดวงตาที่พบบ่อยกันดีกว่าค่ะ

เริ่มจากส่วนผิวของดวงตาก่อนค่ะ ถัดจากภายใต้เปลือกตาที่มีขนตาบนและล่างนั้น เราจะเห็นเยื่อบุตาขาว ซึ่งใจกลางของเยื่อบุตาขาวจะเป็นส่วนลูกตาดำ แต่ก่อนที่จะไปถึงเยื่อบุตาขาวนั้น จะมีต่อมน้ำตาที่อยู่บริเวณเปลือกตาบน และมีต่อมเล็กที่เรียกว่า เมโบเมียน ต่อมที่อยู่ตรงผิวหนังนี้ จะคอยสร้างน้ำตาเยื่อเมือกต่างๆมาหล่อเลี้ยงไม่ให้เยื่อบุตาขาว และส่วนที่เป็นลูกตาดำแห้งค่ะ

ในส่วนของลูกตาดำ (หรือในชาวต่างชาติอาจมีสีฟ้า สีน้ำตาล สีเขียว ที่ต่างกันไปเพราะรงควัตถุหรือสารมีสีที่ต่างกัน ทำให้สีตาต่างกันนั้น) จริงๆเราเรียกว่ากระจกตาค่ะ กระจกตาจะทำหน้าที่เป็นช่องทางในการรับแสงสี ภาพ ต่างๆเข้ามาสู่เส้นประสาทของดวงตาที่อยู่กระจัดกระจายครอบคลุมบริเวณผิวภายในลูกตาอีกที บริเวณล้อมรอบเส้นประสาทนั้น ก็จะมีเส้นเลือดฝอยเล็กๆกระจายอยู่รอบๆด้วย เพื่อหล่อเลี้ยงเส้นประสาทและเนื้อเยื่อลูกตาค่ะ

ในทางการแพทย์ หากเรานำลูกตามาหั่นครึ่งในทิศเหมือนคนยืนหันข้างให้เรา ส่วนหน้า คือส่วนตั้งแต่กระจกตาเข้ามาถึงเลนส์ตา และส่วนหลัง คือ ส่วนตั้งแต่เลนส์ตาเข้าไป จนถึงจอประสาทตาค่ะ

คราวนี้ในส่วนหน้า และส่วนหลัง จะมีส่วนเนื้อเยื่อ ที่มีชื่อเรียกย่อยและทำหน้าที่ต่างๆออกไปอีก

แสงสีภาพต่างๆ จะวิ่งจากจากข้างนอก เข้าสู่ข้างในดวงตา ผ่านกระจกตา คือส่วนตาดำ ผ่านรูม่านตา ผ่านเลนส์ตา ไปบนจอประสาทตา เจอเส้นประสาทตาที่จอประสาทตา เส้นประสาทจะส่งสัญญานไปยังสมองแล้วจะเกิดการแปลผลในสมอง ทำให้เรารับรู้แสงสีภาพต่างๆ

ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในมองเห็น ล้วนเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ส่วนหน้าของดวงตาไปจนถึงระดับสมองเลยทีเดียวค่ะ แต่ตรงนี้จะขอชี้ให้เห็นปัญหาที่ชวนให้พวกเรามองเห็นภาพกว้างๆก่อนค่ะ เช่น

1.ปัญหาสายตายาวในผู้สูงอายุ

เกิดจากเลนส์ตาไม่มีการยืดหยุ่น ไม่สามารถยืดหยุ่นตัวได้เหมือนตอนหนุ่มสาว ทำให้แสงสีที่วิ่งผ่านเข้ามาตกรับไปที่จอประสาทตาได้ไม่พอดี ประกอบกับเริ่มมีความเสื่อมในส่วนการรับแสงสีด้วย เช่น เส้นประสาท เส้นเลือดฝอย ที่จอประสาทตาเสื่อม ยิ่งทำให้ภาพไม่คมชัดไปใหญ่

2.ปัญหาสายสั้นหรือยาวในเด็กและผู้ใหญ่

เกิดจากการที่กระบอกตามีสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม ทำให้แสงสีที่วิ่งผ่านเข้ามา ตกรับไปที่จอประสาทตาได้ไม่พอดี โดยในสายตาสั้น กระบอกตามีสัดส่วนที่ยาวไป ทำให้แสงสีเมื่อเข้าไปแล้ว ดันตกก่อนถึงจอประสาทตา ส่วนในสายตายาวก็กลับกันค่ะ

3.ภาวะต้อหิน

เป็นภาวะที่ความดันในลูกตาสูงขึ้น จากสารคัดหลั่งของเหลวในลูกตา สุดท้ายแล้วจะทำให้เส้นประสาทใหญ่ดวงตาเสียหาย ถึงขึ้นตาบอดได้

4.ภาวะต้อกระจก

เป็นภาวะที่เลนส์ตามีความเสื่อม เกิดฝ้ามัว ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน คนที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นภาวะนี้ เนื่องจากน้ำตาลไปเกาะที่โปรตีนที่เลนส์ตา

5.ภาวะจอประสาทตาเสื่อมที่มาจากอายุซึ่งมากขึ้น

มักพบในผู้สูงอายุที่มากกว่า 60 ปี ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน โดยเฉพาะตรงกลางภาพที่มองไป เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ กรณีที่เสื่อมมากๆ ถึงกับตาบอดได้

6.ภาวะเบาหวานขึ้นตา

เป็นภาวะที่จอประสาทตาเสื่อม จากภาวะเบาหวาน ที่น้ำตาลในเลือดไปทำให้เส้นประสาท เส้นเลือดที่จอประสาทตาเสื่อม จึงก่อให้เกิดปัญหาในการมองเห็น ไปจนถึงตาบอดได้

7.ภาวะจอประสาทตาเสื่อมหลุดลอกได้รับความเสียหาย

เป็นภาวะที่จอประสาทตามีการหลุดลอกออกมา เหมือนเราฉีดขนมชั้นให้หลุดออกจากกัน ทำให้จอประสาทตาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นภาวะฉุกเฉินทางดวงตา ทำให้ถึงตาบอดได้ถ้าไม่รับการรักษาอย่างทันท่วงที

8.ภาวะตาแห้ง

เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของน้ำตา อาจเกิดจากการสร้างน้ำตา ท่อน้ำตา หรือเปลือกตามีปัญหาก็ได้ ซึ่งอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้ ภาวะนี้จะมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองตา สร้างความรำคาญ แต่ถ้าอาการหนักขึ้น จะนำไปสู่ภาวะเยื่อบุตาขาว กระจกตาอักเสบได้

ที่กล่าวมานั้น เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ยังไม่ได้ลงรายละเอียด แต่อยากให้ผู้อ่านเห็นภาพกันค่ะ เพื่อจะได้ช่วยกันระวังดูแลรักษาดวงตาของเราให้ดีที่สุด

อย่าลืมว่า เพราะดวงตาของเรามีเพียงคู่เดียว ถ้าขาดดวงตาไป เราจะไม่สามารถเห็นโลกที่สดใสได้นะคะ

เขียนโดน แพทย์หญิงฉัตรดาว จางวางกร

                                                                                    แพทย์หญิงฉัตรดาว จางวางกร

                                                                                    แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

                                                                                    แพทย์วิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *